วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2559 เวลา 10.30-12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ

การจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย
          การเคลื่อนไหวพื้นฐานแบ่งออกเป็น 
2 ประเภท คือ >>>
               1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ การเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ณ

   จุดใดจุดหนึ่ง โดย ร่างกายจะไม่เคลื่อนออกไปจากจุดนั้นเลย
               2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่ ได้แก่ การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การ กระโดด ฯลฯ

สมองกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย



          จากนั้น อาจารย์ก็ให้ดู VDO การบริหารสมอง และให้ฝึกทำท่าบริหารสมองไปพร้อม ๆ กัน

https://www.youtube.com/watch?v=KYDUMAhfmpY  คลิกเพื่อชม VDO ท่าบริหารสมอง
https://www.youtube.com/watch?v=lBKHF51s9tk คลิกเพื่อชม VDO ท่าบริหารสมองโดยนัก­เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดเขาพะแวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี เขต 1


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • นำคำถามปลายเปิดที่จะสามารถทดสอบสติปัญญา มีความรู้ และทัศคติต่าง ๆ ของเด็ก
  • นำความรู้เรื่องการเคลื่อนไหว มาจัดประสบการณ์ จัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับเด็ก อย่างเหมาะสมกับวัย
  • สามารถนำท่าบริหารสมองต่าง ๆ มาใช้ในการผ่อนคลาย จากการทำงาน หรือการเรียนได้ เพื่อให้มีสมาธิมากขึ้น


การประเมินผล
ประเมินตนเอง : อาจจะเล่นบ้าง แต่ก็พยายามดึงตัวเองกลับมา ตั้งใจเรียน สนุกกับการทำท่าบริหารสมองต่าง ๆ
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน สร้างเสียงหัวเราะในห้องเรียน ทำให้การเรียนมีความสุข ไม่เคร่งเครียด
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตรงต่อเวลา และเตรียมการสอนมาดีทุกครั้ง อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย อาจารย์ใจดี ให้ความเป็นกันเองกับนักศึกษา


วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2559 เวลา 10.30-12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ

  • วันนี้เรียนทฤษฎีกับอาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด เรื่องการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย

        
  • กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตามจังหวะอย่างอิสระ โดยจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียง-ทำนองเพลง  เสียงปรบมือ เสียงเคาะไม้ กลอง รำมะนา คำคล้องจอง เป็นต้น  มาประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้ จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้
  • ความสำคัญของการเคลื่อนไหวและจังหวะช่วยให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
  1. ขีดความสามารถ
  2. เทคนิคและวิธีคิดค้น
  3. การเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ 
  4. เรียนรู้และชอบ
  5. เข้าใจประโยชน์การเคลื่อนไหว
  6. พัฒนาการทางสร้างสรรค์ และยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้าน EQ อีกด้วย
  • การเคลื่อนไหวพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบอยู่กับที่ และแบบเคลื่อนที่
  • หลักการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ ควรเริ่มจากการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระ ไม่ควรมีระเบียบและวิธีการที่ยุ่งยากนัก ครูอาจจะให้เด็กทำกิจกรรมทั้งแบบเดี่ยว คู่ และเป็นกลุ่มตามลำดับได้
  • แนวทางในการประเมินการจัดกิจกรรม ได้แก่                                                                                     1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
              2. สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
              3. สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
              4. สังเกตการแสดงออก
              5. สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม


วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม 2559 เวลา 11.30-14.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
  • วันนี้เรียนปฏิบัติกับอาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น ตามที่อาจารย์ได้สั่งการบ้านไว้เมื่อชั่วโมงที่แล้ว ให้ทุกคนเตรียมเพลงมาเต้น 1 เพลง มาดูภาพบรรยากาศกันค่ะ ว่าจะสนุกสนานขนาดไหน ^____^
โอ้โห !!! แต่ละคน แดนซ์ได้พริ้วมาก ฮ่า ๆๆ

คู่นี้เต้นน่ารักมาก >///<

คลิปเต้นของฉันเอง พอหอมปากหอมคอ ฮ่า ๆๆ
...ขอบคุณเพื่อนที่ถ่ายไว้ให้นะคะ...
  • จากนั้นก็มาฝึกสมาธิกันอีกเช่นเคย พอเตรียมพร้อมเสร็จแล้วอาจารย์ก็พาเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ และเคลื่อนที่ 
การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ เช่น การบิดตัว ย่ำเท้า หมุนส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

เมื่อทำกิจกรรมเคลื่อนไหวนั้น สิ่งสำคัญคือให้เด็กแต่ละคนหาพื้นที่ของตนเอง
แล้วลองกางแขน หมุนรอบตัวว่าจะชนกับเพื่อนหรือไม่ เมื่อได้พื้นที่ที่เหมาะสมแล้ว
จึงจะทำกิจกรรมได้ โดยที่ครูก็ต้องทำไปพร้อม ๆ กับเด็ก ๆ

ขนาดขยับเบา ๆ ก็เล่นเอาเมื่อยตัวกันเลยทีเดียว ฮ่า ๆๆ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อมีความรู้เรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว ก็ทำให้สามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างถูกต้อง มีความเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้นว่าเด็กมีความต้องการอย่างไร ครูก็สามารถส่งเสริมหรือแก้ไขพัฒนาการของเด็กได้
  • นำความรู้หรือวิธีการเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน ไปสอนเด็กปฐมวัยได้ เช่น การวิ่งอยู่กับที่ การเดินหรือเคลื่อนไหว โดยมีจังหวะ การเคาะให้เกิดเสียงเข้ามาเกี่ยวข้อง
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่บางครั้งเวลาเรียนเนื้อหา อาจจะเล่นบ้าง แต่ก็พยายามทำความเข้าใจในบทเรียน เพราะส่วนตัวแล้วจะชอบการปฏิบัติมากกว่าการเรียนทฤษฎี
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจทำกิจกรรม และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ให้คำปรึกษา ให้ความช่วยเหลือกัน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ทั้ง 2 ท่าน เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ไม่สับสน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ อธิบายหรือยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น




วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม 2559 เวลา 11.30-14.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ

  • วันนี้ อาจารย์แจกใบปั๊มการเข้าเรียนลวดลายใหม่ น่ารักมากกว่าเดิม >///<
  • อาจารย์เริ่มกิจกรรมด้วยการพูดคุยทักทายกับนักศึกษา (อาจารย์ยังน่ารักเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนค่ะ) เมื่อเพื่อน ๆ เข้าห้องเรียนครบแล้ว อาจารย์ก็ให้ยืนเป็นครึ่งวงกลม แล้วพาฝึกทำสมาธิอย่างง่าย เช่น มือซ้ายจับจมูก มือขวาจับหูซ้าย, มือซ้ายจีบ มือขวาทำรูปตัว L, มือซ้ายยกนิ้วโป้ง มือขวายกนิ้วก้อย สลับไปมา 10 ครั้ง เป็นต้น
  • เริ่มเข้าสู่กิจกรรมโดยการเต้น T26 ของครูนกเล็ก ที่อาจารย์ได้สั่งไว้เป็นการบ้าน เมื่อเต้นตามเพลงเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้แต่ละคนคิดท่าและเสียงของสัตว์ที่ตนเองชอบ แล้วออกมาเต้นหน้าชั้นเรียน โดยให้เพื่อน ๆ ทำไปพร้อม ๆ กัน


" อาจารย์บอกว่า ส่ายเอวเยอะ ๆ ทุกคนเลยจัดเต็มค่ะ ฮ่า ๆๆ "
  • จากนั้น อาจารย์ก็เปิดเพลง T26 โบกโบ๊กโบก แบบต้นฉบับ แล้วให้ทุกคนเต้นตาม จากนั้นก็ให้คิดท่าอะไรก็ได้ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และให้มีเสียงร้องเป็นทำนองเพลงด้วย เช่น ท่าขับบิ๊กไบค์ ก็จะทำท่าประกอบพร้อมเสียงร้องที่ว่า บรึ้น บรึ้น... เป็นต้น
  • เมื่อทำกิจกรรมเสร็จ อาจารย์จึงให้การบ้านว่า ให้ทุกคนไปฝึกเต้น เพลงอะไรก็ได้ตามใจชอบ ตั้งแต่ต้นจนถึงท่อนฮุก แล้วให้ออกมาเต้นหน้าห้องเรียนในชั่วโมงต่อไป
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เราสามารถนำวิธีการฝึกสมาธิอย่างง่ายมาใช้ในการเรียน การทำงาน หรือเมื่อเตรียมพร้อมที่จะทำอะไรก็ตาม ที่ต้องใช้สมาธิมาก ๆ เพื่อเป็นการผ่อนคลายไปในตัวด้วย
  • เพลง T26 ของครูนกเล็ก ทำให้ได้แนวคิดที่แปลกใหม่ คือ การนำเพลงที่เด็กชอบ หรือเพลงที่ฮิตกันในช่วงนั้น มาดัดแปลงเป็นเพลงที่จะสอนให้เด็กได้รู้จักสัตว์ต่าง ๆ พร้อมท่าทางและเสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์ และเพลงต้นฉบับ ที่อาจารย์ให้แต่ละคนคิดท่าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน แล้วออกมาเต้นหน้าชั้นเรียน ทำให้เราสามารถนำไปสอนเด็กได้จากการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งรอบตัว และในขณะเดียวกัน อาจจะมีสิ่งใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน มาแลกเปลี่ยนกันระหว่างครูกับเด็ก ๆ
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และสนุกกับการทำกิจกรรม มีทัศนคติที่ดีต่อวิชานี้ อาจจะเป็นเพราะชอบการร้องเพลง การเต้นอยู่แล้วด้วย จึงทำให้มีความสุขทุกครั้งที่เรียน :)
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ทุกคนมีความตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ทำให้มีเสียงหัวเราะ มีความสนุกสนานในการเรียนเพิ่มมากขึ้น
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักมาก เสมอต้นเสมอปลาย มีแนวการสอนที่น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ และร่วมทำกิจกรรมกับนักศึกษาโดยไม่เขินอาย ชอบอาจารย์มาก ๆ ค่ะ