วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2559 เวลา 10.30-12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ

  • วันนี้เรียนทฤษฎีกับอาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด เรื่องการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย

        
  • กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตามจังหวะอย่างอิสระ โดยจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียง-ทำนองเพลง  เสียงปรบมือ เสียงเคาะไม้ กลอง รำมะนา คำคล้องจอง เป็นต้น  มาประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้ จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้
  • ความสำคัญของการเคลื่อนไหวและจังหวะช่วยให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
  1. ขีดความสามารถ
  2. เทคนิคและวิธีคิดค้น
  3. การเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ 
  4. เรียนรู้และชอบ
  5. เข้าใจประโยชน์การเคลื่อนไหว
  6. พัฒนาการทางสร้างสรรค์ และยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้าน EQ อีกด้วย
  • การเคลื่อนไหวพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบอยู่กับที่ และแบบเคลื่อนที่
  • หลักการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ ควรเริ่มจากการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระ ไม่ควรมีระเบียบและวิธีการที่ยุ่งยากนัก ครูอาจจะให้เด็กทำกิจกรรมทั้งแบบเดี่ยว คู่ และเป็นกลุ่มตามลำดับได้
  • แนวทางในการประเมินการจัดกิจกรรม ได้แก่                                                                                     1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
              2. สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
              3. สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
              4. สังเกตการแสดงออก
              5. สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม


วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม 2559 เวลา 11.30-14.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
  • วันนี้เรียนปฏิบัติกับอาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น ตามที่อาจารย์ได้สั่งการบ้านไว้เมื่อชั่วโมงที่แล้ว ให้ทุกคนเตรียมเพลงมาเต้น 1 เพลง มาดูภาพบรรยากาศกันค่ะ ว่าจะสนุกสนานขนาดไหน ^____^
โอ้โห !!! แต่ละคน แดนซ์ได้พริ้วมาก ฮ่า ๆๆ

คู่นี้เต้นน่ารักมาก >///<

คลิปเต้นของฉันเอง พอหอมปากหอมคอ ฮ่า ๆๆ
...ขอบคุณเพื่อนที่ถ่ายไว้ให้นะคะ...
  • จากนั้นก็มาฝึกสมาธิกันอีกเช่นเคย พอเตรียมพร้อมเสร็จแล้วอาจารย์ก็พาเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ และเคลื่อนที่ 
การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ เช่น การบิดตัว ย่ำเท้า หมุนส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

เมื่อทำกิจกรรมเคลื่อนไหวนั้น สิ่งสำคัญคือให้เด็กแต่ละคนหาพื้นที่ของตนเอง
แล้วลองกางแขน หมุนรอบตัวว่าจะชนกับเพื่อนหรือไม่ เมื่อได้พื้นที่ที่เหมาะสมแล้ว
จึงจะทำกิจกรรมได้ โดยที่ครูก็ต้องทำไปพร้อม ๆ กับเด็ก ๆ

ขนาดขยับเบา ๆ ก็เล่นเอาเมื่อยตัวกันเลยทีเดียว ฮ่า ๆๆ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อมีความรู้เรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว ก็ทำให้สามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างถูกต้อง มีความเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้นว่าเด็กมีความต้องการอย่างไร ครูก็สามารถส่งเสริมหรือแก้ไขพัฒนาการของเด็กได้
  • นำความรู้หรือวิธีการเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน ไปสอนเด็กปฐมวัยได้ เช่น การวิ่งอยู่กับที่ การเดินหรือเคลื่อนไหว โดยมีจังหวะ การเคาะให้เกิดเสียงเข้ามาเกี่ยวข้อง
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่บางครั้งเวลาเรียนเนื้อหา อาจจะเล่นบ้าง แต่ก็พยายามทำความเข้าใจในบทเรียน เพราะส่วนตัวแล้วจะชอบการปฏิบัติมากกว่าการเรียนทฤษฎี
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจทำกิจกรรม และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ให้คำปรึกษา ให้ความช่วยเหลือกัน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ทั้ง 2 ท่าน เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ไม่สับสน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ อธิบายหรือยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น