วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 11.30-14.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้ อาจารย์พานักศึกษาทุกคนอบอุ่นร่างกาย ก่อนที่จะเริ่มทำกิจกรรมต่อไป โดยเป็นท่าง่าย ๆ ทั่วไป ซึ่งสามารถนำไปสอนเด็กปฐมวัยได้
               ต่อมา... อาจารย์ก็สอนการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อนำไปสอนเด็กในอนาคต โดยอธิบายขั้นตอน ยกตัวอย่าง และนำมาปฏิบัติจริง ครั้งแรก อาจารย์ให้นักศึกษาสมมติเป็นเด็ก ทำตามคำสั่งของอาจารย์ เมื่อเราเข้าใจแล้ว อาจารย์ก็ให้จับกลุ่ม และออกมาสมมติเป็นคุณครู/เด็ก ๆ กันเอง


ขั้นตอนการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

  1. การให้สัญญาณการเคาะจังหวะ เช่น ถ้าคุณครูเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็ก ๆ ก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว เคาะ 2 ครั้ง ก้าว 2 ก้าว เคาะรัว ๆ ให้วิ่งไปรอบ ๆ ห้อง และถ้าเคาะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็ก ๆ หยุดอยู่กับที่ เป็นต้น
  2. เมื่อเด็กเข้าใจแล้ว ก็ให้ยืนขึ้นและหาพื้นที่การทำกิจกรรมของตนเอง โดยไม่ให้ชนกับเพื่อนคนอื่น
  3. เมื่อพร้อมแล้ว ครูก็เริ่มเคาะจังหวะ ทำกิจกรรมตามที่ได้กำหนดไว้ โดยที่คุณครูจะไม่ยืนอยู่กับที่ จะต้องคอยเคลื่อนไหว สังเกตการทำกิจกรรมของเด็ก ๆ
  4. หลังจากทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ก็ทำการพักคลายกล้ามเนื้อ โดยการนวด การนอน การนั่งพัก ฯลฯ                










การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • นำความรู้ ทักษะการสอน คำแนะนำจากอาจารย์มาใช้ในการสอนในครั้งต่อไป เพื่อที่จะทำให้การสอนในอนาคตมีการพัฒนา และชำนาญมากยิ่งขึ้น
  • เราสามารถใช้แนวทางที่อาจารย์ให้ หรือเห็นแนวคิดใหม่ ๆ ของเพื่อน มาปรับเปลี่ยน หรือเป็นไอเดียใหม่ ๆ ในการออกแบบการสอนให้มีความสนุก น่าสนใจยิ่งขึ้นได้
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรม ช่วยเหลือเพื่อนอย่างเต็มที่ และสามารถทดสอบสอนได้ดี
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนอารมณ์ดี ช่วยเหลือกันในการเรียน จึงทำให้บรรยากาศการเรียนเป็นกันเอง มีความสุขสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักมาก สอนเข้าใจง่าย เอาใจใส่นักศึกษาทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน



วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 10.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
  • ความสามารถทางการคิด

ทักษะการคิด


ลักษณะการคิด
          เป็นคุณสมบัติของการคิดที่นำไปใช้ในการดำเนินการคิดควบคู่กับการคิดอื่น เพื่อให้การคิดนั้นๆ มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

กระบวนการคิด
          เป็นการคิดที่ต้องดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนเพื่อช่วยในการคิดนั้นประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมายของการคิด แต่ละกระบวนการคิดจะประกอบไปด้วยขั้นตอนง่ายๆ และในแต่ละขั้นตอนจำเป็นต้องอาศัยทักษะการคิด หรือ ลักษณะการคิดจำนวนมาก

 

กิจกรรมการคิดที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม เช่น
          ให้บอกสิ่งต่าง ๆ ตามที่กำหนดให้ ดังต่อไปนี้ให้มากที่สุด
     บอกชื่อดอกไม้  ให้ได้มากที่สุด
     บอกชื่อคนที่ขึ้นชื่อด้วย  สม   ให้มากที่สุด
     ผ้าขาวม้าใช้ทำประโยชน์อะไรได้บ้าง
     รองเท้ามีประโยชน์อย่างไร
     หมวกใช้ทำอะไรได้บ้าง
     จงบอกปัญหาที่พบในโรงเรียน  มาให้มากที่สุด

ท่านทราบหรือไม่ว่า กิจกรรมนี้เป็นการพัฒนาการคิดลักษณะใด………

            ให้คิดหาสิ่งทดแทน  ดังต่อไปนี้
      ถ้าไม่มีข้าวกิน   นักเรียนจะใช้อะไรแทน
      ถ้าไม่มีเชือก   จะใช้อะไรมัดของแทน
      ถ้าไม่มีร่ม  จะใช้อะไรบังแดดแทน
      ถ้าไม่มีเสื้อผ้า  จะใช้อะไรนุ่งแทน
      ถ้าไม่มีหม้อหุงข้าวไฟฟ้า  จะใช้อะไรแทน

ท่านทราบหรือไม่ว่า กิจกรรมนี้เป็นการพัฒนาการคิดลักษณะใด………


  • สมรรถนะทั้ง 7 ด้านของเด็กปฐมวัย


สมรรถนะ (Competency)  คือพฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย (ช่วงอายุ) ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง (Can do)
ตัวอย่าง : การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
                3 ปี วิ่งและหยุดเองได้
                4 ปี เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
                5 ปี เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน

ตัวอย่าง : การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
                3 ปี พูดคุยและเล่นกับเพื่อนเด็กด้วยกัน
                4 ปี ช่วยเหลือเพื่อน
                5 ปี ชวนเพื่อนมาเล่นด้วยกันโดยกำหนดสถานที่

ตัวอย่าง : ความทรงจำ
                3 ปี ท่องคำคล้องจองสั้น ๆ ได้
                4 ปี บอกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์
                5 ปี บอกหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านได้

ตัวอย่าง : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
                3 ปี แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ โดยการลองผิดลองถูก เช่น สวมรองเท้า ติดกระดุม
                4 ปี แก้ปัญหาโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ใช้ไม้เขี่ยสิ่งของที่เอื้อมไม่ถึง
                5 ปี แก้ปัญหาได้หลายวิธี และรู้จักเลือกวิธีที่เหมาะสม

ความสำคัญ
<  ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจ เด็กปฐมวัยมากขึ้น
<  สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยมากขึ้น
<  ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเสมือน คู่มือช่วยแนะแนว
<  ส่งเสริมวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้ได้คุณภาพดียิ่งขึ้น
<  ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีเป้าหมายร่วมกันและประสานประโยชน์เพื่อเด็กได้ดียิ่งขึ้น

สมรรถนะ 7 ด้าน ประกอบด้วย
(1) การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย            
(2) พัฒนาการด้านสังคม
(3) พัฒนาการด้านอารมณ์                                
(4) พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
(5) พัฒนาการด้านภาษา                                   
(6) พัฒนาการด้านจริยธรรม
(7) พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  •  การพูดจาให้ชัดเจน ถูกต้องกับเด็ก จะช่วยให้เด็กเรียนรู้และเข้าใจภาษาได้อย่างถูกต้อง
  • การนำสื่อเข้ามามีส่วนในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น การใช้นิทาน และที่สำคัญจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก
  • เมื่อเด็กทำความดี จะต้องได้รับการชื่นชม ให้แรงเสริมทางบวก ในทางตรงข้าม ถ้าเด็กทำในสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง ก็ต้องมีการว่ากล่าวตักเตือน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่เขาทำ ไม่ถูกต้อง
  • การที่มีความรู้ว่าเด็กแต่ละช่วงวัยมีความสามารถด้านต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด ทำให้ครูสามารถจัดประสบการณ์ได้เหมาะสมกับวัยและวิธีการเรียนรู้ของเด็กได้
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน จดบันทึกความรู้เพิ่มเติมจากที่ครูยกตัวอย่าง ให้คำปรึกษากับเพื่อน ๆ 
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน และเวลามีปัญหา ไม่เข้าอะไร เพื่อนก็ก็จะให้คำปรึกษาเช่นกัน
ประเมินอาจารย์ : รู้สึกประทับใจอาจารย์มาก เพราะถึงแม้วันนี้อาจารย์จะไม่สบาย ลำบากในการสอน แต่อาจารย์ก็ยังอดทนสอน ไม่ละเลยหน้าที่ พร้อมทั้งสอนแบบเป็นลำดับขั้นตอน เข้าใจง่าย และเป็นกันเองกับนักศึกษา




วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 10.30-12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ

  • วันนี้ เพื่อน ๆ นำเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและจังหวะที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา          

ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายของอาร์โนลด์ กีเซลล์
        กีเซลล์ กล่าวถึงทฤษฎีพัฒนาการทางร่างกายว่าการเจริญเติบโตของเด็กจะแสดงออก เป็นพฤติกรรมด้านต่าง ๆ สำหรับพัฒนาการทางร่างกายนั้นหมายถึง การที่เด็กแสดงความสามารถในการจัดกระทำ กับวัสดุ เช่น การเล่น ลูกบอล การขีดเขียน เด็กต้องใช้ความสามารถของการใช้สายตาและกล้ามเนื้อมือ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของระบบประสาทและการเคลื่อนไหวประกอบกัน ลักษณะพัฒนาการที่สำคัญของเด็กในระยะนี้ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหว การทำ งานของระบบประสาทกล้ามเนื้อ การพัฒนาความสามารถในการควบคุมร่างกาย การบังคับส่วนต่าง ๆของร่างกาย

 กีเซลล์  ได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
 1. พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว  เป็นความสามารถของร่างกายที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์ ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด
 2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่างระบบการเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก เช่น การ ประสานงานระหว่างตากับมือ
 3. พฤติกรรมทางด้านภาษา จะเป็นการแสดงออกทางหน้าตาและการใช้ภาษา การสื่อสาร
 4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม เป็นความสามารถในการปรับตัวของเด็ก ระหว่างบุคคลกับบุคคลและบุคคลกับกลุ่มภายใต้ภาวะ แวดล้อมและสภาพความเป็นจริง

ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์

            อี พอล ทอร์แรนซ์ (E. Paul Torrance) นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไปแล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานขึ้น ต่อจากนั้นก็ทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น
Torrance  เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังท่านหนึ่งทางด้านความคิดสร้างสรรค์ ได้สร้างทฤษฎีและแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้กันในหลายประเทศทั่วโลก เขากล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์จะแสดงออกตลอดกระบวนการของความรู้สึกหรือการเห็นปัญหาการรวบรวมความคิดเพื่อตั้งเป็นข้อสมมติฐาน การทดสอบ และดัดแปลงสมมติฐานตลอดจนวิธการเผยแพร่ผลสรุปที่ได้ความคิดสร้างสรรค์ จึงเปนกระบวนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง และทอร์แรนซ์เรียกกระบวนการลักษณะนี้ว่ากระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรคค์หรือ  “The creative problem solving process”

กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แบ่งออกได้ 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การพบความจริง (Fact – Finding) ในขั้นนี้เริ่มตั้งแต่ความรู้สึกกังวล มีความสับสน วุ่นวาย เกิดขึ้นในจิตใจ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไร จากจุดนี้ก็พยายามตั้งสติ และหาข้อมูลพิจารณาดูว่าความยุ่งยาก วุ่นวาย สับสน หรือสิ่งที่ทำให้กังวลใจนั้นคืออะไร
ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา ( Problem – Finding) ขั้นนี้เกิดต่อจากขั้นที่ 1 เมื่อได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว จึงเข้าใจและสรุปว่า ความสับสนวุ่นวายนั้นก็คือ การเกิดปัญหานั่นเอง
ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน ( Idea – Finding ) ขั้นนี้ต่อจากขั้นที่ 2 เมื่อรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นก็จะพยายามคิดและตั้งสมมติฐาน และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3
ขั้นที่ 4 การแก้ปัญหา ( Solution – Finding) ในขั้นนี้จะพบคำตอบจากการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3
ขั้นที่ 5 ยอมรับผลจากการค้นพบ ( Acceptance – finding) ขั้นนี้เป็การยอมรับคำตอบที่ได้จากการพิสูจน์เรียบร้อยแล้ว่าน่าจะแก้ปัญหาให้สำเร็จได้อย่างไร แต่ต่อจากจุดนี้การแก้ปัญหาหรือการค้นพบยังไม่จนตรงนี้ แต่ผลที่ได้จากการค้นพบจะนำไปสู่หนทางที่จะทำให้เกิดแนวคิดหรือสิ่งใหม่ต่อไปที่เรียกว่า New Challent

ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร
          ความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึก หากเด็กรู้สึกอย่างไรก็จะมีการแสดงออกและเคลื่อนไหวออกมาแบบนั้น เช่น เด็กฟังเพลงเด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อเพลง ๆ นั้น เด็กก็จะเคลื่อนไหวและแสดงออกมาตามบทเพลงที่เด็กได้ฟัง


ทฤษฎีการเคลื่อนไหวด้านสังคม
ทฤษฎีของอิริคสัน


       อิริสันเป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฏีขึ้นในแนวคิดของฟรอยด์ แต่ได้เน้นความสําคัญของทางด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจว่ามีบทบาทในการพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอิริสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่าเห็นความสําคัญของEgo มากว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ด้วยเหตุที่อิริสันเน้นกระบวนการทางสังคมว่าเป็นจุดกระตุ้นหล่อหลอมบุคลิกภาพ เขาจึงได้เรียกทฤษฎีของเขาว่า เป็นทฤษฏีจิตสังคม

อิริคสันได้แบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ
      ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริคสันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็นจะต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้
ผู้เลี้ยงดูจะต้องเอาใจใส่เด็ก
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง
     อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่ายกาย ช่วยให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง
ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม การรู้สึกผิด
      วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความ คิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเองจากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆจะสนุกจากการ สมมุติของต่างๆเป็นของจริงเช่นอาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ขับรถยนต์ เหมือนผู้ใหญ่
***สามขั้นแรกเป็นขั้นพัฒนาการที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย***
ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ ความรู้สึกด้อย
ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทในสังคม
ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน ความอ้างว้างตัวคนเดียว
ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง ความคิดถึงแต่ตนเอง
ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง

ทฤษฎีของอิริคสัน เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร
          ตามทฤษฎีอาจกล่าวได้ว่าเด็กมักมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ ต้องการที่จะเรียนรู้และทำอะไรด้วยตนเอง และในวัยนี้มักมีการเคลื่อนไหวจากการเล่น ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้


ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูรา

       อัลเบิร์ต แบนดูรา กล่าวว่า การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นเกิดจากพฤติกรรมบุคคลนั้นมีการปฏิสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลนั้น และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นบุคคลเกิดการเรียนรู้โดยการให้ตัวแบบ โดยผู้เรียนจะเลียนแบบจากตัวแบบ และการเลียนแบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยการสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบ การสังเกตการณ์ตอบสนองและปฏิกิริยาต่าง ๆ ของตัวแบบ สภาพแวดล้อมของตัวแบบ ผลการกระทำ คำบอกเล่า และความน่าเชื่อถือของตัวแบบได้ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจึงเกิดขึ้นได้ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ ของการเลียนแบบของเด็ก ประกอบด้วย 4 กระบวนการ
1. กระบวนการดึงดูดความสนใจ (Attentional Process)
         กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กได้สังเกตตัวแบบ และตัวแบบนั้นดึงดูดให้เด็กสนใจที่จะเลียนแบบ ควรเป็นพฤติกรรมง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน ง่ายต่อการเอาใจใส่ของเด็กที่เกิดการเลียนแบบและเกิดการเรียนรู้
2. กระบวนการคงไว้ (Retention Process)
           คือ กระบวนการบันทึกรหัสเป็นความจำ การที่เด็กจะต้องมีความแม่นยำในการบันทึกสิ่งที่ได้เห็นหรือได้ยินเก็บเป็นความจำ ทั้งนี้ เด็กดึงข้อมูลที่ได้จากตัวแบบออกมาใช้กระทำตามโอกาสที่เหมาะสม เด็กที่มีอายุมากกว่าจะเรียนรู้จากการสังเกตการณ์กระทำที่ฉลาดของบุคคลอื่น ๆ ได้มากกว่า โดยประมวลไว้ในลักษณะของภาพพจน์ และในลักษณะของภาษา และเด็กโตขึ้นนำประสบการณ์และสัญลักษณ์ต่าง ๆ มาเชื่อมโยงและต่อมาจะใช้การเรียนรู้มีเทคนิคที่นำมาช่วยเหลือความจำ คือ การท่องจำ การทบทวน หรือการฝึกหัด และการรวบรวมสิ่งที่เกี่ยวพันกันในเหตุการณ์ ซึ่งจะช่วยให้เขาได้เก็บสะสมความรู้ไว้ในระดับซึ่งสามารถนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ
3.กระบวนการแสดงออก
           คือการแสดงผลเรียนรู้ด้วยการกระทำคือ การที่เด็กเกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้จากตัวแบบต่างๆ
4. กระบวนการจูงใจ (Motivational Process)
          คือ กระบวนการเสริมแรงให้กับเด็กเพื่อแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบได้ถูกต้อง โดยเด็กเกิดการเรียนรู้จากการเรียนรู้จากการเลียนแบบตัวแบบที่จะมาจากบุคคลที่มีชื่อเสียงมากกว่าบุคคลที่ไม่มีชื่อเสียง จากการเลียนแบบตัวแบบที่มาจากบุคคลที่เป็นเพศเดียวกับเด็กมากกว่าจะเป็นเพศตรงข้ามกัน จากการเลียนแบบตัวแบบที่เป็นรางวัล เช่น เงิน ชื่อเสียง สถานภาพทางเศรษฐกิจสูง จากพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกลงโทษ มีแนวโน้มที่จะไม่ถูกนำมาเลียนแบบ และจากการที่เด็กได้รับอิทธิพลจากตัวแบบที่มีความคล้ายคลึงกับเด็ก ได้แก่ อายุ หรือสถานภาพทางสังคม

ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูรา เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร
           คือ เมื่อเด็กเห็นในสิ่งต่างๆที่ไม่เคยเห็น ไม่ว่าจะเป็นในทีวี ในบ้าน หรือว่านอกบ้าน สิ่งต่างที่เด็กเห็นนั้นล้วนมีการเคลื่อนไหว แสดงท่าทางต่างๆ แล้วเมื่อเด็กจะสังเกตุ สมองของเด็กจะมีการจดจำในสิ่งพวกนั้น แล้วนำมาทำตามหรือเรียกว่า "เลียนแบบจนเกิดเป็นการเคลื่อนไหวตามสิ่งต่างๆ

ทฤษฎีการเคลื่อนไหวด้านสติปัญญา
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์

เน้นการเรียนรู้ที่สำคัญด้วยกฎ 3 ประการ(Thorndike. n. d. อ้างถึงใน เชาวลิต ภูมิภาค.2532 : 109-110) ได้แก่
1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
3. กฎแห่งผล  (Law of Effects)

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

          เพียเจต์ (Piaget. 1964) อธิบายว่าพัฒนาการทางสติปัญญาของคนมีลักษณะเดียวกันในช่วงอายุเท่ากันและแตกต่างกันในช่วงอายุต่างกัน พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมโดยบุคคลพยายามปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุลด้วยการใช้กระบวนการดูดซึมและกระบวนการปรับให้เหมาะสมจนทำให้เกิดการเรียนรู้โดยเริ่มจากการสัมผัส ต่อมาจึงเกิดความคิด
ทางรูปธรรมและพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนเกิดความคิดที่เป็นนามธรรมซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามลำดับ
         เพียเจต์ถือว่าการให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆ จะส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยซึ่งอาศัยการรับรู้เป็นสื่อในการกระตุ้นทางความคิดของเด็ก จำเป็นต้องให้เด็กได้มีโอกาสเคลื่อนไหวและสัมผัสสิ่งต่างๆ ทฤษฎีนี้เป็นประโยชน์ในการจัดเนื้อหากิจกรรมทางการเคลื่อนไหว โดยให้เด็กได้สัมผัสกับวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็กซึ่งจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งใหม่
ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์ (Jerome S. Bruner)
          เชื่อว่าพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการ ภายในอินทรีย์ (Organism) เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก ซึ่งจะพัฒนาได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก


ทฤษฎีของบรูเนอร์

เน้นหลักการ กระบวนการคิด ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะ 4 ข้อ คือ
1.แรงจูงใจ (Motivation)
2.โครงสร้าง (Structure)
3.ลำดับขั้นความต่อเนื่อง (Sequence)
4.การเสริมแรง (Reinforcement)

บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการการเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็น 3 ขั้น คือ
1. ขั้นการกระทำ (Enactive Stage) เด็กเรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส
2. ขั้นคิดจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ (Piconic Stage) เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ตามความเป็นจริง และการคิดจากจินตนาการ
3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด (Symbolic Stage) เด็กเริ่มเข้าใจเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ สิ่งที่พบเห็น

ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
คือ เป็นความสามารถในการคิด จินตนาการ ความคิดแปลกใหม่โดยอาศัยความคิดและประสบการณ์เดิมแล้วนำมาปรับปรุง มีการคิดได้อย่างอิสระคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน จะแสดงออกโดยการเคลื่อนไหวและออกแบบท่าทางต่างๆขึ้นมาตามความคิดของเด็กเอง เช่น การที่เด็กจินตนาการคิดว่าตนเองเป็นผีเสื้อ เด็กจะทำการคิดผ่านกระบวนการต่างๆแล้วแสดงออกมาเป็นท่าทางของผีเสื้อ เช่น ผีเสื้อมีปีก ผีเสื้อต้องบิน เป็นต้น




วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 11.30-14.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหว โดยให้ออกมาทำท่าเคลื่อนไหวประกอบเพลงหน้าชั้นเรียน










          
          วันนี้เป็นการออกมาทำท่าเคลื่อนไหวต่าง ๆ ประกอบกับเพลง ซึ่งอาจารย์ได้ให้คำแนะนำว่า เราเน้นท่าแอโรบิคเกินไป ซึ่งสำหรับเด็กไม่จำเป็นต้องเป็นท่าแอโรบิค เพียงแค่ให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างครบถ้วนตั้งแต่หัวจรดเท้า อาจจะเป็นท่าทางน่ารัก ๆ สำหรับเด็กที่เราคิดขึ้นมาเองก็ได้

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เราสามารถนำความรู้ แนวคิดจากทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว มาใช้เป็นหลักในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยได้
  • การได้เรียนรู้จากครูเกี่ยวกับการสอนเคลื่อนไหวเบื้องต้น ทำให้เรามีความรู้มากขึ้น ว่าควรสอนเด็กอย่างไร ให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับเด็ก
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมต่าง ๆ สนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ที่อาจารย์มอบให้
ประเมินเพื่อน : เพื่อนน่ารัก มีอะไรไม่เข้าใจก็จะช่วยเหลือกันเสมอ สร้างเสียงหัวเราะในการเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักมากค่ะ มีความสุขทุกครั้งที่ได้เรียนกับอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน เรียนสนุก ไม่น่าเบื่อ พร้อมทั้งได้ประสบการณ์ แนวคิดในการดำเนินชีวิตด้วย หนูชอบมาก