วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 11.30-14.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้ อาจารย์พานักศึกษาทุกคนอบอุ่นร่างกาย ก่อนที่จะเริ่มทำกิจกรรมต่อไป โดยเป็นท่าง่าย ๆ ทั่วไป ซึ่งสามารถนำไปสอนเด็กปฐมวัยได้
               ต่อมา... อาจารย์ก็สอนการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อนำไปสอนเด็กในอนาคต โดยอธิบายขั้นตอน ยกตัวอย่าง และนำมาปฏิบัติจริง ครั้งแรก อาจารย์ให้นักศึกษาสมมติเป็นเด็ก ทำตามคำสั่งของอาจารย์ เมื่อเราเข้าใจแล้ว อาจารย์ก็ให้จับกลุ่ม และออกมาสมมติเป็นคุณครู/เด็ก ๆ กันเอง


ขั้นตอนการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

  1. การให้สัญญาณการเคาะจังหวะ เช่น ถ้าคุณครูเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็ก ๆ ก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว เคาะ 2 ครั้ง ก้าว 2 ก้าว เคาะรัว ๆ ให้วิ่งไปรอบ ๆ ห้อง และถ้าเคาะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็ก ๆ หยุดอยู่กับที่ เป็นต้น
  2. เมื่อเด็กเข้าใจแล้ว ก็ให้ยืนขึ้นและหาพื้นที่การทำกิจกรรมของตนเอง โดยไม่ให้ชนกับเพื่อนคนอื่น
  3. เมื่อพร้อมแล้ว ครูก็เริ่มเคาะจังหวะ ทำกิจกรรมตามที่ได้กำหนดไว้ โดยที่คุณครูจะไม่ยืนอยู่กับที่ จะต้องคอยเคลื่อนไหว สังเกตการทำกิจกรรมของเด็ก ๆ
  4. หลังจากทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ก็ทำการพักคลายกล้ามเนื้อ โดยการนวด การนอน การนั่งพัก ฯลฯ                










การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • นำความรู้ ทักษะการสอน คำแนะนำจากอาจารย์มาใช้ในการสอนในครั้งต่อไป เพื่อที่จะทำให้การสอนในอนาคตมีการพัฒนา และชำนาญมากยิ่งขึ้น
  • เราสามารถใช้แนวทางที่อาจารย์ให้ หรือเห็นแนวคิดใหม่ ๆ ของเพื่อน มาปรับเปลี่ยน หรือเป็นไอเดียใหม่ ๆ ในการออกแบบการสอนให้มีความสนุก น่าสนใจยิ่งขึ้นได้
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรม ช่วยเหลือเพื่อนอย่างเต็มที่ และสามารถทดสอบสอนได้ดี
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนอารมณ์ดี ช่วยเหลือกันในการเรียน จึงทำให้บรรยากาศการเรียนเป็นกันเอง มีความสุขสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักมาก สอนเข้าใจง่าย เอาใจใส่นักศึกษาทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น