วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2559 เวลา 10.30-12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
  • วันนี้ เก็บตกเพื่อนที่ยังไม่ได้สอนหน้าชั้นเรียน เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย หลังจากนั้น อาจารย์ก็สอนทบทวนการเคลื่อนไหวตามข้อตกลงให้เพื่อนที่ยังไม่เข้าใจ แล้วก็ออกมาสอนหน้าชั้นเรียน
  • การสอนเคลื่อนไหวตามข้อตกลง
  1. เคลื่อนไหวพื้นฐาน 
  2. เคลื่อนไหวตามข้อตกลง = วันนี้ ครูภาพวิวก็จะมาสอนเคลื่อนไหวตามข้อตกลงนะคะ ให้เด็ก ๆ ตั้งใจฟังข้อตกลงของเรา... ถ้าครูภาพวิว ให้เด็กจับคู่รูปที่เหมือนกัน ตามที่ครูได้แจกให้เด็กแต่ละคน ก็ให้เด็กทำตามข้อตกลงนั้น ๆ เป็นต้น
  3. การผ่อนคลายกล้ามเนื้อจากการทำกิจกรรม
มาชมภาพกิจกรรมกันเลย ^___^






แต่ละคน เต็มที่และทุ่มเทกับการเรียนมากค่ะ ฮ่าๆๆๆ ทำเอาอาจารย์นั่งเฉย ๆ 
ยังเหนื่อยเลยทีเดียว (เหนื่อยหัวเราะหรือเปล่าคะอาจารย์ >,<)

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • การสอนในวันนี้สามารถนำไปใช้ในการสอนในอนาคตได้ และเมื่อฝึกทำบ่อย ๆ ฝึกสอนบ่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดทักษะที่ดีมากยิ่งขึ้น
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับเพื่อน ๆ สนุกและมีความสุขในการเรียนวิชานี้มาก
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน และเต็มที่กับการทำกิจกรรม กระตือรือร้นอยู่เสมอ มีความสนุกสนานและมีเสียงหัวเราะให้การเรียนไม่เคร่งเครียด
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักไม่เคยเปลี่ยน เป็นกันเองกับนักศึกษามาก ให้คำแนะนำที่ดีแก่นักศึกษาเสมอ




วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2559 เวลา 10.30-12.30 น.

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม 2559 เวลา 11.30-14.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
  • วันจันทร์ : เพื่อนคนที่ยังไม่ออกมาสอนเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย ก็ทยอยออกมาสอนจนครบทุกคน








  • วันพฤหัสบดี : ให้เพื่อนออกมาสอนจนครบ หลังจากนั้น อาจารย์ก็สอนการเคลื่อนไหวแบบใหม่ คือ การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง หรือตามคำสั่ง
          การเคลื่อนไหวตามข้อตกลงหรือตามคำสั่งนั้น ข้อตกลงจะไม่ตายตัว เช่น การใช้มุมต่าง ๆ ในห้อง มุมดนตรี มุมบ้าน มุมหนังสือ มุมบล็อก 
          ตัวอย่างการทำกิจกรรม
  • ถ้าคุณครูพูดว่า มุมดนตรี ให้เด็ก ๆ เดิน หรือทำท่าสัตว์ต่าง ๆ ไปยังมุมดนตรี
  • ถ้าคุณครูพูดว่า นก ให้เด็ก ๆ เคลื่อนที่ไปที่มุมดนตรี พูดว่า วัว ให้ไปยังมุมหนังสือ โดยทำท่าทางและทำเสียงของสัตว์นั้น ๆ ด้วย
  • สัญญาณรูปภาพ สามเหลี่ยม ให้เด็ก ๆ ปรบมือ 1 ครั้ง สี่เหลี่ยม 3 ครั้ง และวงกลม ให้หยุด เป็นต้น ซึ่งสามารถกำหนดข้อตกลงได้หลากหลายรูปแบบ ถ้าหากมีการเล่นไม่ครบคู่กัน ครูสามารถเข้าไปเล่นร่วมกับเด็ก ๆ ได้
  • การผ่อนคลาย อาจจะเป็นการนวดขมับ นวดหู ไหล่ แขน โดยให้เด็กนับด้วย
  • ควรใช้คำแทนตัวว่า คุณครูและตามด้วยชื่อ เช่น คุณครูภาพวิว คุณครูพลอย เป็นต้น
  • ให้เรียกเด็กว่า ลูก บ้าง เช่น นั่งให้เป็นระเบียบนะคะลูก, ทุกคนเก่งมากเลยลูก หรืออาจจะใช้คำนำหน้าชื่อเด็กว่า น้อง...

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • นำไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต ซึ่งจะทำให้การเรียนเคลื่อนไหวและจังหวะมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เสริมประสบการณ์และเพิ่มพูนความรู้แก่เด็กมากขึ้น
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมของเพื่อน ๆ
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีการสอนที่หลากหลาย มีความแตกต่างกันไป ให้ความร่วมมือช่วยเหลือกันในการทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดี สอนเข้าใจง่าย ชัดเจน และใจดี เป็นกันเองกับนักศึกษา


วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 10.30-12.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ

  • วันนี้ เพื่อนที่ยังไม่ได้ออกมาสอนการเคลื่อนไหว ที่ค้างจากชั่วโมงที่ผ่านมา ให้ออกมานำเพื่อน ๆ ทำกิจกรรม โดยให้เพื่อนคนอื่น ๆ อาสาสมัครมาแสดงบทบาทสมมติเป็นเด็ก ๆ ให้






บรรยากาศการทำกิจกรรม สนุกสนานเฮฮามาก ทั้งอาจารย์ทั้งนักศึกษา ฮ่า ๆๆๆ

ขั้นตอนการสอนเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย มีดังนี้
  1. เตรียมความพร้อมเข้าสู่กิจกรรม 
  2. กำหนดสัญญาณการเคาะจังหวะ เพื่อให้เด็กเข้าใจข้อตกลงในการทำกิจกรรม ในช่วงนี้ จะให้เด็ก ๆ นั่งฟังก่อน ตัวอย่างการกำหนดสัญญาณ >>>  ถ้าคุณครูเคาะจังหวะ 1 ครั้ง (เคาะ) ให้เด็ก ๆ ก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว  >>>  ถ้าคุณครูเคาะจังหวะ 2 ครั้ง (เคาะ) ให้เด็ก ๆ ก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว  >>>   ถ้าคุณครูเคาะจังหวะรัว ๆ (เคาะ) ให้เด็ก ๆ เคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ห้อง  >>>  และถ้าคุณครูเคาะจังหวะ 2 ครั้งติดกัน (เคาะ) ให้เด็ก ๆ หยุดอยู่กับที่ (เรียกว่า การเคลื่อนไหวพื้นฐาน)
  3. จากนั้น จะเป็นการเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม โดยให้เด็กอาสาสมัคร ออกมานำเพื่อน ทำท่าทางต่าง ๆ 
  4. พาเด็ก ๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จากการทำกิจกรรม โดยอาจจะเป็นการบีบนวดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือเป็นการนอน ทำท่าทางต่าง ๆ ตามที่อาจารย์บรรยาย เป็นต้น
วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2559 เวลา 11.30-14.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้ อาจารย์จะสอนการทำกิจกรรม "การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย"

วันนี้ได้ดาวเด็กดี 1 ดวงด้วย เพราะมาถึงก่อนเวลาเรียน :D


ขั้นตอนการสอนเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย มีดังนี้
  1. เตรียมความพร้อมเข้าสู่กิจกรรม 
  2. กำหนดสัญญาณการเคาะจังหวะ เพื่อให้เด็กเข้าใจข้อตกลงในการทำกิจกรรม ในช่วงนี้ จะให้เด็ก ๆ นั่งฟังก่อน ตัวอย่างการกำหนดสัญญาณ >>>  ถ้าคุณครูเคาะจังหวะ 1 ครั้ง (เคาะ) ให้เด็ก ๆ ก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว  >>>  ถ้าคุณครูเคาะจังหวะ 2 ครั้ง (เคาะ) ให้เด็ก ๆ ก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว  >>>   ถ้าคุณครูเคาะจังหวะรัว ๆ (เคาะ) ให้เด็ก ๆ เคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ห้อง  >>>  และถ้าคุณครูเคาะจังหวะ 2 ครั้งติดกัน (เคาะ) ให้เด็ก ๆ หยุดอยู่กับที่ 
  3. เมื่อเริ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหวนั้น จะต้องให้เด็กหาพื้นที่ของตนเอง ไม่ให้ชนกับเพื่อน ถ้าเด็กชนกับเพื่อน ครูจะต้องเข้าไปจัดพื้นที่ที่เหมาะสมให้เด็ก ในการเคลื่อนไหวอาจจะเพิ่มท่าทางประกอบที่เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ด้วยก็ได้ เช่น หน่วยสัตว์ ก็ให้ทำท่ากระต่าย หรือทำท่าตามใจชอบของเด็ก ๆ (เรียกว่า การเคลื่อนไหวพื้นฐาน) ขณะทำกิจกรรม ครูจะต้องเคลื่อนที่ด้วย แต่ไม่จำเป็นต้องก้าวตามจังหวะที่ตนเองกำหนด 
  4. จากนั้น จะเป็นการเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย โดยให้ครูเล่าเรื่อง ที่เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ที่จะสอนในวันนั้น แล้วให้เด็ก ๆ ทำท่าทางตามคำบรรยายของครู ครูต้องเล่าเรื่องให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อย่างหลากหลาย เช่น ก้าวอย่างช้า ๆ วิ่งไปรอบ ๆ กระโดด หมุน เป็นต้น
  5. พาเด็ก ๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จากการทำกิจกรรม โดยอาจจะเป็นการบีบนวดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือเป็นการนอน ทำท่าทางต่าง ๆ ตามที่อาจารย์บรรยาย เป็นต้น
 มาดูภาพการทำกิจกรรมกันเล๊ย... 



เมื่ออาจารย์ทำให้ดูเป็นแบบอย่างแล้ว ก็ให้นักศึกษาลองเขียนหน่วยการเรียน
และลองบรรยายเนื้อหาคร่าว ๆ ให้อาจารย์ตรวจ และนำมาปฏิบัติจริง ๆ 

 


 





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อมีความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะให้แก่เด็กปฐมวัย รู้วิธีการ ขั้นตอน ก็สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ ในการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคต ก่อให้เกิดทักษะความรู้ ทักษะการสอนที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามวัย

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ ให้ความร่วมมือ เป็นอาสาสมัครให้เพื่อน ๆ อย่างเต็มใจ สนุกสนานกับการทำกิจกรรม ในการสอน อาจจะมีข้อบกพร่องบ้าง แต่อาจารย์ก็จะแนะนำให้เราแก้ไข ณ ตอนนั้นเลย
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม สร้างเสียงหัวเราะ ความสนุกสนาน ทำให้บรรยากาศไม่ตึงเครียด มีการสอนที่หลากหลายรูปแบบจากเพื่อนหลาย ๆ คน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารัก และใจดีเสมอต้นเสมอปลาย นอกจากจะสอนเข้าใจ ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง และยังให้คำแนะนำเมื่อนักศึกษายังมีความเข้าใจไม่ถูกต้อง การใช้คำพูด บุคลิกภาพ ข้อควรปฏิบัติในการสอน รวมทั้งให้ข้อคิดในการดำรงชีวิต การดูแลตัวเองให้ดี เป็นข้อเตือนใจให้กับนักศึกษาด้วย



วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2559 
(เรียนชดเชยวันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2559)
เวลา 10.30-12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
  • กิจกรรมวันนี้ คือ การประดิษฐ์เครื่องเคาะจังหวะสำหรับประกอบกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะหรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
อ๊ะ อ๊ะ วันเสาร์เราก็มาเรียน อาจารย์ใจดีให้รางวัลเด็กดีมาตั้ง 2 ดวงเลย
^__________________^


          การทำเครื่องเคาะจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น อาจารย์ให้นำวัสดุเหลือใช้ หรือวัสดุตามธรรมชาติ เช่น กล่อง ขวดน้ำ ถั่วเขียว ฝาขวดน้ำ เปลือกหอย ฯลฯ นำมาประดิษฐ์เพื่อให้เกิดเสียงได้

วัสดุอุปกรณ์ตกแต่ง อาจารย์ก็มีให้นะคะ ^___^ 

มีตัวอย่างจากรุ่นพี่ให้ดูด้วย...

เอาหละ มาลงมือทำกันเลยดีกว่า ^___________^


วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำเครื่องเคาะจังหวะ มีดังนี้
  • ขวดน้ำพลาสติก
  • ฝาขวดน้ำ
  • กระพรวน
  • ถั่วเขียว
  • แล็คซีน
  • ไหมพรม
  • โบว์ 
  • ลูกปัด เป็นต้น
วิธีการทำ

1.  ตัดแบ่งครึ่ง ขวดน้ำจำนวน 2 ขวด

 
2.  นำฝาขวดน้ำ กระพรวน และถั่วเขียว ใส่ในขวดน้ำที่ตัดครึ่งแล้ว โดยไม่ต้องใส่เยอะมาก
เพื่อให้เครื่องเคาะเสียงดัง ชัดเจนขึ้น


3.  นำแล็คซีนมาติดเชื่อมระหว่างฝาขวดน้ำทั้งสอง แล้วปิดก้นของขวด เพื่อไม่ให้วัสดุในขวดน้ำออก




4.  จากนั้น ก็นำวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งที่อาจารย์มีให้ มาตกแต่ง โดยดิฉันจะนำไหมพรมมาพันรอบ ๆ
และติดโบว์เล็ก ๆ ร้อยลูกปิดใส่นิดหน่อย พอให้ผลงานมีสีสันขึ้น
v
v
v
v
v

ท้าดา... !!! ผลงานของเราเสร็จแล้วค่ะ






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อเห็นตัวอย่างการทำเครื่องเคาะจังหวะที่มีความหลากหลาย และได้ฝึกทำเอง จึงทำให้เกิดทักษะการทำเครื่องเคาะจังหวะอย่างง่าย ที่มีต้นทุนน้อย ไม่จำเป็นต้องไปซื้อให้สิ้นเปลือง ก็สามารถให้เสียงเคาะที่ไพเราะ แตกต่างกันไปได้เช่นกัน
  • เมื่อฝึกทำหลาย ๆ ครั้ง ก็จะทำให้เกิดความชำนาญ เกิดความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการทำไปใช้เป็นสื่อการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคต

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตอนแรกคิดไม่ออกว่าจะทำอะไร แต่พอได้เห็นตัวอย่างที่อาจารย์เตรียมมาให้ และตัวอย่างจากเพื่อน ๆ เลยทำให้ได้ไอเดียในการทำ และตั้งใจทำออกมาให้ดีที่สุด
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ให้คำปรึกษา ให้ความช่วยเหลือ ให้แนวคิดดี ๆ ในการทำ และผลงานแต่ละชิ้นของเพื่อน ก็มีความหลากหลาย สวยงามแตกต่างกันไป
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อำนวยความสะดวกดีมาก ในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์มาให้นักศึกษา และยังให้ความเป็นกันเอง ให้อิสระในการทำ บรรยากาศในการเรียนจึงเป็นไปอย่างสบาย นักศึกษาก็แฮปปี้ ^___^