วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 10.30-12.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ

  • วันนี้ เพื่อนที่ยังไม่ได้ออกมาสอนการเคลื่อนไหว ที่ค้างจากชั่วโมงที่ผ่านมา ให้ออกมานำเพื่อน ๆ ทำกิจกรรม โดยให้เพื่อนคนอื่น ๆ อาสาสมัครมาแสดงบทบาทสมมติเป็นเด็ก ๆ ให้






บรรยากาศการทำกิจกรรม สนุกสนานเฮฮามาก ทั้งอาจารย์ทั้งนักศึกษา ฮ่า ๆๆๆ

ขั้นตอนการสอนเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย มีดังนี้
  1. เตรียมความพร้อมเข้าสู่กิจกรรม 
  2. กำหนดสัญญาณการเคาะจังหวะ เพื่อให้เด็กเข้าใจข้อตกลงในการทำกิจกรรม ในช่วงนี้ จะให้เด็ก ๆ นั่งฟังก่อน ตัวอย่างการกำหนดสัญญาณ >>>  ถ้าคุณครูเคาะจังหวะ 1 ครั้ง (เคาะ) ให้เด็ก ๆ ก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว  >>>  ถ้าคุณครูเคาะจังหวะ 2 ครั้ง (เคาะ) ให้เด็ก ๆ ก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว  >>>   ถ้าคุณครูเคาะจังหวะรัว ๆ (เคาะ) ให้เด็ก ๆ เคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ห้อง  >>>  และถ้าคุณครูเคาะจังหวะ 2 ครั้งติดกัน (เคาะ) ให้เด็ก ๆ หยุดอยู่กับที่ (เรียกว่า การเคลื่อนไหวพื้นฐาน)
  3. จากนั้น จะเป็นการเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม โดยให้เด็กอาสาสมัคร ออกมานำเพื่อน ทำท่าทางต่าง ๆ 
  4. พาเด็ก ๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จากการทำกิจกรรม โดยอาจจะเป็นการบีบนวดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือเป็นการนอน ทำท่าทางต่าง ๆ ตามที่อาจารย์บรรยาย เป็นต้น
วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2559 เวลา 11.30-14.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้ อาจารย์จะสอนการทำกิจกรรม "การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย"

วันนี้ได้ดาวเด็กดี 1 ดวงด้วย เพราะมาถึงก่อนเวลาเรียน :D


ขั้นตอนการสอนเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย มีดังนี้
  1. เตรียมความพร้อมเข้าสู่กิจกรรม 
  2. กำหนดสัญญาณการเคาะจังหวะ เพื่อให้เด็กเข้าใจข้อตกลงในการทำกิจกรรม ในช่วงนี้ จะให้เด็ก ๆ นั่งฟังก่อน ตัวอย่างการกำหนดสัญญาณ >>>  ถ้าคุณครูเคาะจังหวะ 1 ครั้ง (เคาะ) ให้เด็ก ๆ ก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว  >>>  ถ้าคุณครูเคาะจังหวะ 2 ครั้ง (เคาะ) ให้เด็ก ๆ ก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว  >>>   ถ้าคุณครูเคาะจังหวะรัว ๆ (เคาะ) ให้เด็ก ๆ เคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ห้อง  >>>  และถ้าคุณครูเคาะจังหวะ 2 ครั้งติดกัน (เคาะ) ให้เด็ก ๆ หยุดอยู่กับที่ 
  3. เมื่อเริ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหวนั้น จะต้องให้เด็กหาพื้นที่ของตนเอง ไม่ให้ชนกับเพื่อน ถ้าเด็กชนกับเพื่อน ครูจะต้องเข้าไปจัดพื้นที่ที่เหมาะสมให้เด็ก ในการเคลื่อนไหวอาจจะเพิ่มท่าทางประกอบที่เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ด้วยก็ได้ เช่น หน่วยสัตว์ ก็ให้ทำท่ากระต่าย หรือทำท่าตามใจชอบของเด็ก ๆ (เรียกว่า การเคลื่อนไหวพื้นฐาน) ขณะทำกิจกรรม ครูจะต้องเคลื่อนที่ด้วย แต่ไม่จำเป็นต้องก้าวตามจังหวะที่ตนเองกำหนด 
  4. จากนั้น จะเป็นการเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย โดยให้ครูเล่าเรื่อง ที่เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ที่จะสอนในวันนั้น แล้วให้เด็ก ๆ ทำท่าทางตามคำบรรยายของครู ครูต้องเล่าเรื่องให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อย่างหลากหลาย เช่น ก้าวอย่างช้า ๆ วิ่งไปรอบ ๆ กระโดด หมุน เป็นต้น
  5. พาเด็ก ๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จากการทำกิจกรรม โดยอาจจะเป็นการบีบนวดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือเป็นการนอน ทำท่าทางต่าง ๆ ตามที่อาจารย์บรรยาย เป็นต้น
 มาดูภาพการทำกิจกรรมกันเล๊ย... 



เมื่ออาจารย์ทำให้ดูเป็นแบบอย่างแล้ว ก็ให้นักศึกษาลองเขียนหน่วยการเรียน
และลองบรรยายเนื้อหาคร่าว ๆ ให้อาจารย์ตรวจ และนำมาปฏิบัติจริง ๆ 

 


 





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อมีความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะให้แก่เด็กปฐมวัย รู้วิธีการ ขั้นตอน ก็สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ ในการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคต ก่อให้เกิดทักษะความรู้ ทักษะการสอนที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามวัย

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ ให้ความร่วมมือ เป็นอาสาสมัครให้เพื่อน ๆ อย่างเต็มใจ สนุกสนานกับการทำกิจกรรม ในการสอน อาจจะมีข้อบกพร่องบ้าง แต่อาจารย์ก็จะแนะนำให้เราแก้ไข ณ ตอนนั้นเลย
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม สร้างเสียงหัวเราะ ความสนุกสนาน ทำให้บรรยากาศไม่ตึงเครียด มีการสอนที่หลากหลายรูปแบบจากเพื่อนหลาย ๆ คน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารัก และใจดีเสมอต้นเสมอปลาย นอกจากจะสอนเข้าใจ ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง และยังให้คำแนะนำเมื่อนักศึกษายังมีความเข้าใจไม่ถูกต้อง การใช้คำพูด บุคลิกภาพ ข้อควรปฏิบัติในการสอน รวมทั้งให้ข้อคิดในการดำรงชีวิต การดูแลตัวเองให้ดี เป็นข้อเตือนใจให้กับนักศึกษาด้วย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น